การสื่อสารของมนุษย์
การสื่อสารของมนุษย์
การสื่อสารของมนุษย์ ภาษาคือสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจความหมาย ถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ การสื่อสารด้วยภาษาของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน ภาษาที่มนุษย์มีหลายรูปแบบทั้งด้านการใช้เสียง ภาพ ท่าทาง สีหน้า สายตา ตัวหนังสือ และรูปแบบอื่นๆ ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดขึ้น โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือหากมนุษย์ไม่เรียนรู้หรือมีประสบการณ์ในการใช้ภาษาแล้วก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดเสีย
นอกจากภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารความหายตามปกติแล้ว มนุษย์ยังได้สร้างภาษาเฉพาะขึ้นมาเพื่อ ใช้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของตนเองในอีกหลายลักษณะ เช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ภาษาทางการฑูต ภาษาราชการ ภาษาทางการแพทย์ ภาษาทางวิชาการ ภาษาวัยรุ่น ภาษาในวงการสงฆ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีภาษาที่ใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ อีกเช่น ภาษาของคนหูหนวก ภาษาของคนตาบอด ภาษาดนตรี การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความหมายของภาษาเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารความหายตามปกติแล้ว มนุษย์ยังได้สร้างภาษาเฉพาะขึ้นมาเพื่อ ใช้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของตนเองในอีกหลายลักษณะ เช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ภาษาทางการฑูต ภาษาราชการ ภาษาทางการแพทย์ ภาษาทางวิชาการ ภาษาวัยรุ่น ภาษาในวงการสงฆ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีภาษาที่ใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ อีกเช่น ภาษาของคนหูหนวก ภาษาของคนตาบอด ภาษาดนตรี การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความหมายของภาษาเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
รูปแบบที่ใช้ในการสื่อสาร
การสื่อสารของมนุษย์นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การที่จะสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแต่ละประเภทด้วย
รูปแบบการสื่อสารต่างๆ ที่จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบได้ดังนี้
1. การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Commutation)
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Commutation)
3. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
1. การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Commutation)
2. การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Commutation)
3. การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลักษณะพิเศษของการสื่อสารแบบนี้คือ มีการเผชิญหน้ากันในระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทำให้การสื่อสารสามารถพัฒนาต่อไปได้ เพราะสามารถแก้ไขได้ในทันทีทันใดหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์เนื่องจากครบวงจรมีปฏิกิริยาโต้ตอบเกิดขึ้นในการสื่อสาร ทำให้ผู้ส่งสารรู้ว่าผู้รับสารเข้าใจในสารที่ส่งไปหรือไม่ ถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการสื่อสารทั้งหมด
องค์ประกอบที่ทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ
องค์ประกอบที่ทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ
องค์ประกอบของการสื่อสารของมนุษย์ มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ อย่างที่กล่าวมาตอนแรกว่า การสื่อสารของมนุษย์เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์คิดวิธีการสื่อสารขึ้นมา ดังนั้นการศึกษาเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ องค์ประกอบที่ง่ายที่สุดในการสื่อสารของมนุษย์เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ผู้ส่งสาร
2. สาร
3. ผู้รับสาร
2. สาร
3. ผู้รับสาร
การเริ่มต้นของการสื่อสารของมนุษย์จะเริ่มด้วยความปรารถนาของผู้ส่งสาร ที่ต้องการจะส่ง
ข้อมูลนี้ไปยังบุคคลอื่น ข้อมูลนี้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเขาเองแต่เดิม หรืออาจเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็ได้ นั่นก็คือ สารที่มีอยู่ในตัวของเขานั่นเอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่มีอยู่ในตัวของเขาเท่านั้น แต่หากจะถูกส่งต่อออกไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้ว จำเป็นต้องมีการแปรความคิดเหล่านั้นออกเป็นสัญญาณ เช่น เสียง ภาพ หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ ซึ่งจะสามารถสื่อข้อมูลที่มีอยู่ ทั้งนี้โดยผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่เรียกว่า ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส และการสัมผัส จากนั้นผู้รับสารก็จะได้รับสัญญาณที่ผู้ส่งสารส่งมา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการสื่อสารครั้งนี้จะได้ผลตามที่ผู้ส่งสารต้องการ เนื่องจากผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจสารที่ได้รับมา ตามจุดประสงค์ของผู้ส่งสารก็ได้ เนื่องจากสิ่งที่เขามีอยู่ในตัวเองคือ ประสบการณ์ หรือภูมิหลังของเขา จะเป็นตัวแปลความหมายของสัญญาณที่เขาได้รับ เช่นเดียวกับที่ผู้ส่งสารเองก็มีประสบการณ์และภูมิหลังอยู่ประจำตัวของเขาเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วโอกาสที่คน 2 คน จะเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ตามความต้องการของแต่ละฝ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ นั่นก็คือ
1. จุดประสงค์ของผู้ส่งสาร
2. สัญญาณที่ใช้ในการแปรสารของผู้ส่งสาร
3. ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
4. ช่องทางในการสื่อสาร
5. การแปลสารของผู้รับสารก่อนที่จะแปรเป็นสัญญาณเข้าไปสู่ผู้รับสาร
6. ประสบการณ์ของผู้รับสาร
7. สภาพแวดล้อมในขณะนั้น
2. สัญญาณที่ใช้ในการแปรสารของผู้ส่งสาร
3. ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
4. ช่องทางในการสื่อสาร
5. การแปลสารของผู้รับสารก่อนที่จะแปรเป็นสัญญาณเข้าไปสู่ผู้รับสาร
6. ประสบการณ์ของผู้รับสาร
7. สภาพแวดล้อมในขณะนั้น
วัจนภาษาและอวัจนภาษา
วิธีการสื่อสารของมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คือ การสื่อสารทางวัจนภาษา (Verbal) และการสื่อสารทางอวัจนภาษา (Nonverbal) วัจนภาษา หมายถึง ภาษาเสียง ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน อวัจนภาษา ได้แก่ ภาษาที่ไม่ออกเสียง แต่สามารถสื่อสารความหมายได้ ได้แก่ สีหน้า ท่าทาง สายตา การวางท่า ระยะห่าง และน้ำเสียง นอกจากนั้นก็อาจจะมีเรื่องราวของวัฒนธรรม เวลาหรือภาษาที่ไม่ออกเสียงแต่สามารถสื่อความหมายได้
การสื่อสารของมนุษย์มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงภาษาทั้ง 2 ด้วย เพราะหากไม่ให้ความสนใจในอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลวได้โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า ที่จำต้องมีการใช้ภาษาทั้ง 2 นี้ควบคู่กันไป เพื่อช่วยให้เกิดความหมายชัดเจนขึ้น การเลือกใช้วัจนภาษาจะเลือกใช้เมื่อสื่อความหมายที่ชัดเจน และเกิดความรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะใช้ในการให้รายละเอียดขึ้อมูลจะได้ผลดีการใช้ภาษาตามจุดประสงค์
การสื่อสารของมนุษย์มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงภาษาทั้ง 2 ด้วย เพราะหากไม่ให้ความสนใจในอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลวได้โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า ที่จำต้องมีการใช้ภาษาทั้ง 2 นี้ควบคู่กันไป เพื่อช่วยให้เกิดความหมายชัดเจนขึ้น การเลือกใช้วัจนภาษาจะเลือกใช้เมื่อสื่อความหมายที่ชัดเจน และเกิดความรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะใช้ในการให้รายละเอียดขึ้อมูลจะได้ผลดีการใช้ภาษาตามจุดประสงค์
การใช้ภาษาของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ก็เป็นอีกรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ที่มีจุดประสงค์แน่นอน เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการของตน โดยคำนึงถึงผลกำไรและขาดทุนเป็นหลัก ไม่ได้เป็นการเจรจาเพื่อหวังผลอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นในฐานะเพื่อนฝูง ความเสน่หาหรือกิจการอื่น จุดมุ่งหมายสำคัญมีอย่างเดียวคือ เพื่อผลทางธุรกิจเท่านั้น
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีการเจรจาแบบเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือ สถานะอื่น ก็มีความประสงค์อย่างเดียวเท่านั้นคือผลทางธุรกิจ ซึ่งจะต้องมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ได้คำนึงถึงความไพเราะ ความงดงามของภาษา หรืออารมณ์ของความรู้สึกอื่นใด หากจะมีเกิดขึ้นก็เมื่อผลประโยชน์เกิดขึ้นเพื่อธุรกิจเท่านั้น
ในการเจรจาเพื่อธุรกิจนั้นมีลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ แต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้รับสารหรือผู้ส่งสาร ต่างก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ตนเองได้ผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าของผู้อื่น ดังนั้นหากการเจรจา ปรากฏว่ามีฝ่ายใดได้ประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไป หรืออีกฝ่ายไม่ได้ประโยชน์ใดเลย การสื่อสารนี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ หรือถ้าเกิดขึ้นจริงก็ย่อมจะเกิดความไม่พอใจในผลของการสื่อสารนี้อย่างแน่นอน แต่หากว่าการสื่อสารนี้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน การสื่อสารก็จะเป็นความพอใจของทั้งสองฝ่ายในการที่มีผลออกมาเป็นเช่นนี้
อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางธุรกิจ แต่ละฝ่ายก็ต่างหวังให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุดทั้งสิ้น ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยากที่จะให้เกิดความเท่าเทียมกันในผลประโยชน์ที่จะได้รับ เราจะเห็นว่าถ้าเป็นการสื่อสารที่ต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกันแล้ว คุณภาพของการสื่อสารบรรยากาศของความเป็นมิตรจะเกิดขึ้นมากกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ ดังนั้นหากเราต้องการจะรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน ความระมัดระวังในการสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันจะมีความสำคัญอย่าง
รูปแบบในการสื่อสารทางธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ใช่มีแค่การเลือกใช้คำพูดเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ บรรยากาศ สถานการณ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องคำนึงถึงให้มากด้วย เพราะการที่คนเราจะเสียผลประโยชน์หรือได้ผลประโยชน์มักจะเกิดความรู้สึกที่มากกว่าการพูดคุยกันตามปกติในเรื่องทั่วไป
รูปแบบในการสื่อสารทางธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ใช่มีแค่การเลือกใช้คำพูดเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ บรรยากาศ สถานการณ์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องคำนึงถึงให้มากด้วย เพราะการที่คนเราจะเสียผลประโยชน์หรือได้ผลประโยชน์มักจะเกิดความรู้สึกที่มากกว่าการพูดคุยกันตามปกติในเรื่องทั่วไป
นักธุรกิจถึงมักจะคำนึงถึงสถานที่หรือบรรยากาศในการเจรจาแต่ละครั้ง เช่น การใช้ สนามกอล์ฟเป็น Background ในทางเจรจามากกว่าในงานเลี้ยงสังสรรค์เพราะคนจะมีความผ่อนคลายมากกว่า การยอมรับหรือการมองเห็นสูงกว่า เช่น ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของวัจนะภาษาที่จึงถือว่าเป็นด่านแรกกับ อวัจนะภาษาต้องทำให้ประสบผลสำเร็จ
ผลลัพธ์ในการสื่อสารของมนุษย์
การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ต้องเป็นความรับผิดชอบของคนทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดไม่มีความรับผิดชอบโอกาสจะเกิดความผิดพลาดก็มีได้
อย่างไรก็ตามกระบวนการสื่อสารจำเป็นต้องมีวิธีและกระบวนการที่พิจารณาอย่างละเอียด การสื่อสารไม่ใช่แค่การระบายความคิดที่เรามีอยู่เท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเหมือนการถ่ายทอดดนตรี ไม่มีการคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับสาร ถ้าเป็นการสื่อสารแล้วจะต้องมีการรับรู้ของผู้รับสารเกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่การส่งออกจากผู้ส่งสารอย่างเดียว การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การสื่อสารที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระบวนการการรับสารของผู้รับสาร
การปรับปรุงทักษะการสื่อสารของตนเองถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการสื่อสาร นั่นคือต้องมีการปรับปรุงความสามารถในการฟัง การสังเกต การอ่านและการมองก่อนที่จะไปปรับปรุง การพูดหรือการเขียน
จะเห็นว่า การพัฒนาทักษะนั้นต้องเริ่มจากการเป็นผู้รับสารที่ดีก่อน จึงเข้าก้าวไปสู่การเป็นผู้ส่งสารผ่านทางวัจนภาษา การเข้าใจกระบวนการสื่อสารให้ดีจะเข้าใจได้ถึงความซับซ้อนของกระบวนการสื่อสาร แต่ถ้าเราใช้เวลานานขึ้นในการศึกษาและปรับปรุงทักษะในการสื่อสารเราก็จะเข้าใจและสามารถควบคุมได้ เหมือนกับลมหายใจเข้าออกของเราที่มีติดตัวเราอยู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่หากเรารู้จักวิธีการควบคุมเราก็จะได้ประโยชน์จากการหายใจเช่นเดียวกับ ได้ประโยชน์จากการสื่อสารเช่นเดียวกัน เพียงแต่เราต้องเรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น